ฝิ่น
ชื่อทั่วไป
- ฝิ่น (Opium)
ชื่ออื่น ๆ
- PAPAVER SOMNIFERUM และ PAPAVER BRACTEATUM
(ชื่อทางพฤกษศาสตร์)
- หมู (ฝิ่นที่คลุกยาฉุน ยาเส้น ใบพลู
ใบจาก หรือกัญชาใช้ม้วนสูบด้วยกล้อง)
ชื่อทางวิทยาศาสตร์
- -
สารเคมีที่ออกฤทธิ์
- Morphine และ อัลคาลอยด์ของฝิ่น
ลักษณะทางกายภาพ
- เนื้อฝิ่นได้มาจากยางของผลฝิ่นที่ถูกกรีดจะมีสีขาว
เมื่อถูกอากาศจะมีสีคล้ำลง กลายเป็นยาง
เหนียวสีน้ำตาลไหม้ หรือดำ มีกลิ่นเหม็นเขียวและรสขม เรียนว่า “ฝิ่นดิบ” ส่วนฝิ่นที่มีการนำมาใช้เสพ
เรียกว่า “ฝิ่นสุก” ได้มาจากนำฝิ่นดิบไปต้มหรือเคี่ยวจนสุก
ประวัติความเป็นมา
- ฝิ่น เป็นยาเสพติดให้โทษที่สำคัญชนิดแรกที่แพร่เข้ามาสู่ประเทศไทย
แต่จะเข้ามาตั้งแต่เมื่อใดไม่
ปรากฏหลักฐานยืนยันจากการสันนิษฐานทางประวัติศาสตร์ น่าเชื่อว่าคนไทยได้รับอิทธิพลถ่ายทอด
เกี่ยวกับเรื่องฝิ่นมาจากชาวจีนในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น เนื่องจากมีสำเภาจีนเดินทางบรรทุกสินค้า
เข้ามาค้าขายกับคนไทยจนเป็นที่นิยมในกรุงศรีอยุธยา จนสืบเนื่องมาถึงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นก็ยังคง
มีการจำหน่ายและเสพฝิ่นกันอยู่อย่างแพร่หลายโดยรัฐบาลเพียงแต่เข้มงวด
ในเรื่องการควบคุมภาษีฝิ่นเท่านั้น แต่ยังมีคนไทยลักลอบซื้อขาย และสูบฝิ่นกันอยู่จำนวนมาก
- ต่อมาในปี พ.ศ.2501 คณะปฏิวัติภายใต้การนำของ
ฯพณฯจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เห็นสมควรให้การเสพ
และจำหน่ายฝิ่นในประเทศไทยเป็นสิ่งผิดกฎหมาย และได้มีประกาศของคณะปฏิวัติให้เลิกการเสพและ
จำหน่ายฝิ่นโดยเด็ดขาดทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2502 เป็นต้นไป
ประเภทของยา
- ฝิ่น (ฝิ่นดิบ ฝิ่นสุก มูลฝิ่น) จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่
2พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522
แหล่งผลิต
- ฝิ่นเป็นพืชล้มลุกขึ้นในที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ
3,000 ฟุตขึ้นไป เป็นยาเสพติดที่เป็นต้นตอของ
ยาเสพติดร้ายแรง
เช่น มอร์ฟีน เฮโรอีน และโคเดอีน นอกจากประเทศไทยจะประสบปัญหาการลักลอบค้าและการลำเลียง
ฝิ่นตามแนวชายแดนจากประเทศเพื่อนบ้านแล้ว ยังมีการลักลอบปลูกฝิ่นในประเทศไทย โดยใน ปี 2541/2542 มีพื้น
ที่ปลูกฝิ่นประมาณ9,007 ไร่ ลดลงจากปี 2540/2541 ประมาณ 279 ไร่ กองทัพบกและตำรวจภูธรได้
เข้าปฏิบัติการตัดฟันทำลาย
ไร่ฝิ่น 5,051 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 56.08 ของพื้นที่ปลูกฝิ่นทั้งหมดในประเทศ
- พื้นที่ที่มีการลักลอบปลูกฝิ่นมาก ได้แก่
พื้นที่ อ.อมก๋อย อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ อ.ปาย อ.ปางมะผ้า
จ.แม่ฮ่องสอน อ.เวียงป่าเป้าจ.เชียงราย และ อ.ท่าสองยาง จ.ตาก โดยมีการลักลอบปลูกหลายครั้งใน
พื้นที่เดียวกัน และมีแนวโน้มที่จะปลูกเพื่อการค้ามากขึ้น
การแพร่ระบาด
- จากสถิติผู้เข้ารับการบำบัดรักษา พบว่า
ผู้เสพส่วนใหญ่ยังคงเป็นผู้เสพเดิมและมักจะเสพกันในกลุ่ม
ผู้ที่มีอายุมากคือ ตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ไม่ได้รับการศึกษาเลย หรือได้รับการศึกษา
น้อยเพียงระดับประถมศึกษา
กลุ่มผู้เสพประกอบอาชีพเกษตรกรหรือรับจ้าง เมื่อพิจารณาจากสถิติผู้เข้ารับการบำบัดรักษา พบว่า
ภาคเหนือเป็นพื้น
ที่ที่มีปัญหาการแพร่ระบาดฝิ่นมาก โดยเฉพาะใน จ.เชียงใหม่ จ.เชียงราย จ.แม่ฮ่องสอนและ จ.ตาก
การออกฤทธิ์
- ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางมีผลกดประสาท
โดยกดการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง
สารเคมีที่มีผสมอยู่มากมายในเนื้อฝิ่น ซึ่งประกอบด้วย โปรตีน เกลือแร่ ยาง และกรดอินทรีย์ เป็น Alkaloid ซึ่งเป็นสารผสมอยู่ในเนื้อฝิ่นอันเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ฝิ่นกลายเป็นยาเสพ ติดให้โทษที่ร้ายแรง Alkaloid
ในฝิ่นมีประมาณ25 ชนิด แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
- ประเภทที่ 1 ออกฤทธิ์ทำให้เกิดอาการมึนเมา
และเป็นยาเสพติดให้โทษโดยตรง Alkaloid ประเภทน
ี้ ทางเภสัชวิทยาถือ
ว่าเป็นยาทำให้นอนหลับ (Hypnotic) ประเภทที่ 2 ออกฤทธิ์ทำให้กล้ามเนื้อหย่อนคลายตัว
ซึ่งในทางเภสัชวิทยาถือว่า Alkaloid ในฝิ่นประเภทนี้ไม่เป็นสารเสพติด แต่มีฤทธิ์ทำให้กล้ามเนื้อของ
ร่างกายหย่อนคลายตัว
ผลต่อร่างกาย
- ในขณะที่ผู้เสพตกอยู่ใต้อิทธิพลของยาเสพติดจะมีอาการง่วงนอน
เซื่องซึม ชีพจรเต้นช้า ไม่รู้สึกหิว ไม่พูดมาก และ
ไม่สนใจกับสิ่งต่างๆรอบตัว อาจจะนั่งเหม่อมองออกไปโดยไม่มีจุดหมาย นัยน์ตาอาจเปลี่ยนสีและขนาดของม่านตาอาจจะ
เล็กลงเท่าขนาดรูเข็ม เมื่อเริ่มมีความต้องการยาครั้งต่อไปและมีอาการของการขาดยาเสพติดจะมีลักษณะ อาการเริ่มต้น คือ
น้ำตา น้ำมูกไหล ปวดหัว เกิดอาการคัน หาวนอน ขนลุก สะบัดร้อนสะบัดหนาว ม่านตาขยาย ผู้ติดยาเสพติดจะหงุดหงิด
กระวนกระวาย ตื่นตกใจ อาการขั้นรุนแรงขึ้น คือ นอนไม่หลับ เหงื่อออก ปวดเมื่อยตามแขนขา คลื่นเหียนอาเจียน
มีอาการท้องร่วง
การบำบัด
- ขั้นตอนการบำบัดรักษาฝิ่นมี 4 ขั้นตอนดังนี้
1. ขั้นเตรียมการ เป็นการเตรียมตัวผู้ติดยาเสพติดให้พร้อมที่
จะเข้ารับการบำบัดรักษาให้เกิดความเชื่อมั่นและมีความตั้งใจ
จริงที่จะเลิกยาเสพติด นอกจากนี้ยังต้องเตรียมความพร้อมญาติพี่น้องและครอบครัว หรือผู้ใกล้ชิดให้เข้า
มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาต่างๆ 2. ขั้นถอนพิษยา ในขั้นตอนนี้ผู้ติดฝิ่นที่มีความตั้งใจที่จะเลิก โดยการหยุดเสพแล้วจะมีความอยากและความต้องการยาเสพติดอยู่เหมือนเช่นเคย ดังนั้น การบำบัดรักษา
จะเลือกใช้วิธีการใดขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ใช้ ปริมาณการใช้และความตั้งใจของผู้เสพ หากเสพในปริมาณมากและเป็น
เวลานานหลายปี จะมีอาการถอนพิษยา (Withdrawal Symptoms) เช่น หาวนอน น้ำมูก น้ำตาไหล เหงื่อออกมาก
มีอาการทุรนทุราย หงุดหงิด
ปวดกล้ามเนื้อ ปวดท้อง ท้องเดิน อาเจียน รายที่รุนแรงอาจถ่ายเป็นเลือดที่ชาวบ้าน เรียกว่า “ลงแดง”
หรือมีอาการชักเกิดขึ้น
เพราะอาการต่างๆ อาจรุนแรง ถึงชีวิตได้ แต่หากเริ่มเสพมาไม่นานนักและมีความตั้งใจที่จะเลิกจริงๆ
วิธีที่ดีที่สุด คือการหยุดใช้ยาเองหรือที่เรียกว่า
“หักดิบ” พักผ่อนให้เต็มที่ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายให้ร่างกายแข็งแรงก็จะสามารถถอน
พิษยาออกจากร่างกายได้ในที่สุด
โดยจะใช้เวลาไม่นานกว่า 15 วัน 3. ขั้นฟื้นฟูสมรรถภาพ เป็นการปรับสภาพร่างกายและจิตใจของผู้เลิกยาเสพติด
ให้มีความเข้มแข็งปรับเปลี่ยนบุคลิกภาพ ความคิด ความรู้สึกและพฤติกรรมให้สามารถกลับสู่สังคมได้อย่างปกติ โดยการให้คำปรึกษาการฟื้นฟูสมรรถภาพแบบชุมชนบำบัด เป็นต้น ซึ่งผู้ติดยาเสพติดสามารถเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพได้ที่ศูนย์ฟื้น
ฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดที่มีอยู่ทั่วประเทศ 4. ขั้นติดตามดูแลหลังรักษา เป็นการติดตามดูแลผู้เลิกยาเสพติด
ที่ผ่านการบำบัดรักษา ทั้ง 3 ขั้นตอน เพื่อให้คำแนะนำปรึกษา ให้กำลังใจ ทั้งนี้เพื่อมิให้หวนกลับไปเสพยาเสพติดซ้ำ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น