โคเคน
Bulletin (October - December 1995 Vol.3 No.3)
เดือนพฤศจิกายน 2538 ที่ผ่านมาท่านคงได้รับทราบข่าวการตรวจพบโคเคนในกลุ่มดาราวัยรุ่น จากหน้า หนังสือพิมพ์บ้างแล้ว ชื่อ “โคเคน (Cocaine)” อาจจะไม่แพร่หลายในประเทศเรามากนัก แต่มักจะได้ยินเสมอๆ จากข่าวหรือภาพยนตร์จากต่างประเทศโดยเฉพาะจากประเทศสหรัฐอเมริกา ในประเทศไทยเริ่มมีรายงานประปราย มานาน แต่ระยะหลังมีแนวโน้มว่าจะมีปัญหาเพิ่มมากขึ้น บทความในฉบับนี้จะขอนำรายละเอียดของโคเคนเพื่ฮให้ท่าน ได้รู้จักกันดียิ่งขึ้น
โคเคนมีประวัติอันยาวนานมาก่อน เป็นสารที่ได้จากการสกัดใบของต้นโคคา (coca) ซึ่งมีมากในอเมริกา ใต้ ชาวอินเดียนในประเทศเปรูมีวัฒนธรรมเคี้ยวใบโคคามานานกว่า 1000 ปีก่อน ใบโคคาเข้าไปในยุโรปและอเมริกา ตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 19 Sigmund Freud ปรมาจารย์ทางจิตเวชได้ ใช้สารที่สกัดจากต้นโคคาเป็นยารักษาโรคจิต ซึมเศร้าและภาวะติดยาเสพติดอื่นๆ ต่อมาทางการแพทย์ ใช้โคเคนเพื่อเป็นยาชาเฉพาะที่ ในช่วงระยะเดียวกันนั่นเอง ที่มีการผลิตเครื่องดื่มที่ทำจากใบโคคาและ caffeine ชื่อ “coca cola” และได้รับความนิยมแพร่หลายอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งในต้นศตวรรษที่ 20 ทางบริษัทจึงได้ยอมที่จะสกัดเอาสารโคเคนออกจากใบโคคาก่อนนำ ไปปรุงเครื่อง ดื่มโคเคนยังเป็นสาเหตุสำคัญหนึ่งที่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกา และประเทศเพื่อนบ้านทางใต้คือเม็กซิโก และประเทศในทวีปอเมริกาใต้ไม่ราบรื่น เพราะประเทศเหล่านี้ เป็นแหล่งผลิตและลักลอบ ส่งสารโคเคน เข้าสหรัฐอเมริกา ในสมัยประธานาธิบดีจอร์ช บุช สหรัฐอเมริกาใช้กำลังทหารเข้าไปจับผู้นำประเทศ แห่งหนึ่งมาขึ้นศาลสหรัฐอเมริกา ในข้อหาลักลอบค้าโคเคนนี่เอง
โคเคนเริ่มมีการนำมาใช้เป็นสารเสพติดชนิดกระตุ้นประสาทตั้งแต่ปี 1920 แต่การแพร่ ระบาดหนักที่สุด ก็คือ ตั้งแต่ปี 1970 เป็นต้นมา สาเหตุเนื่องจากได้มีพัฒนาการการผลิตโคเคน ที่ทำให้ได้โคเคนในราคาถูก ใช้ได้ง่าย และ ออกฤทธิ์เร็ว โคเคนเป็นสาร alkaloid cocaine ซึ่งมักจะเป็น cocaine hydrochloriteอยู่ในรูปของผง หรือเกร็ดสีขาว ไม่ทนต่อความร้อนต้องใช้โดยวิธีฉีด พัฒนาการของโคเคนที่เกิดขึ้นในช่วงหลังคือ การทำให้เป็น cocaine base ซึ่งจะทนความร้อน หลังละลายและกลายเป็นไอที่อุณหภูมิมากกว่า 98 องศาเซลเซียส ทำให้ง่ายต่อการเสพย์โดยการสูบ เหมือนบุหรี่
โคเคนออกฤทธิ์เหมือนยาม้า (amphetamine) โดยยับยั้ง dopamine ที่บริเวณ presynaptic ทำให้มีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง และทำให้มีภาวะกระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติ sympathetic เมื่อเทียบกับ amphetamine โคเคนออกฤทธิ์เร็วแต่สั้นกว่า การเสพย์โคเคนสามารถ ทำได้ทั้งวิธีสูดดมเหมือนดมยานัตถ์ มวนสูบเหมือนสูบบุหรี่ และผสมน้ำฉีดเข้าหลอดเลือดดำ โคเคนที่ถูกดูดซึมเข้าทางระบบทางเดินหายใจออกฤทธิ์ได้เร็วเท่ากับการฉีดทาง หลอดเลือดดำภายใน 20 นาทีโคเคนจะทำให้ผู้เสพมีภาวะของ euphoria ซึ่งถือว่าเกิดฤทธิ์ที่ผู้เสพย์ต้องการ แต่บ่อยครั้ง ที่จะพบอาการที่ไม่พึงประสงค์อื่นตามด้วยเช่น มีภาพหลอน อาเจียน มีอาการจากการกระตุ้น ระบบประสาท sympathetic คือ ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็วหรือผิดจังหวะ ภาวะแทรกซ้อน จากการเสพโคเคนที่สำคัญคือ ภาวะแทรกซ้อนของระบบหัวใจและหลอดเลือด และในระบบประสาท จากสถิติพบว่าโคเคนเป็นสาเหตุทำให้อุบัติการของ sudden cardiac arrest, cardiac arrhythmias และ status epilepticus สูงขึ้น
ผู้เสพย์โคเคนบางราย มาพบแพทย์ด้วยอาการเจ็บหน้าอกแบบ angina pain หรือมีภาวะของ กล้ามเนื้อหัวใจตาย (acute myocardial infarction) ซึ่งเกิดขึ้นแม้ในคนอายุน้อยที่ไม่มีปัจจัยอื่นๆ ของโรคหัวใจ บางรายอาจทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ (arrhythmia) และเสียชีวิตอย่างเฉียบพลันได้ สำหรับภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาทที่พบได้บ่อยคือ ชัก, status epilepticus, ischemic stroke , subarachnoid และ intracerebral hemorrhage การที่มีภาวะประสาทหลอน (hallucination) ทำให้ มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุหรือการบาดเจ็บได้สูง เกิดมีภาวะ rhabdomyolysis และ renal failure ทั้งจากโคเคนเองและจากการที่ได้รับบาดเจ็บ ในรายที่เสพเป็นเวลานานจะมี paranoid psychosis เกิดพฤติกรรมที่ก้าวร้าวรุนแรง เป็นอันตรายต่อสังคมได้เช่นเดียวกับที่พบในยาม้า
การวินิจฉัยได้จากประวัติและการตรวจร่างกายเป็นหลัก ผู้ป่วยที่มีอาการกระสับกระส่าย สับสน เห็นภาพหลอน มีอาการเหมือนเสพยาม้า ร่วมกับมีอาการของ sympathetic overactivity หรือถ้าผู้ป่วย มาด้วยปัญหาของโรคหัวใจ ขาดเลือดหรืออาการชักที่หาสาเหตุอื่นไม่ได้ เราควรจะต้องสงสัยว่า ผู้ป่วยเสพย์โคเคน นอกจากนี้การตรวจทางห้องปฏิบัติ การก็จะช่วยในการวินิจฉัยด้วยเพราะ ถึงแม้โคเคนจะมีฤทธิ์ที่สั้น แต่ metabolite ของมันคือ benzolecgonine ซึ่งจะถูกขับออกทางปัสสาวะ สามารถตรวจพบในปัสสาวะได้นานถึง 24-36 ชั่วโมงหลังได้ยา ซึ่งขณะนี้หน่วยพิษวิทยา รพ.รามาธิบดี สามารถตรวจ benzolecgonine ได้แล้ว
โคเคนอาจจะเป็นยากระตุ้นประสาทตัวใหม่ที่จะเข้ามาในสังคมไทยมากขึ้น ในยุคที่การติดต่อ สื่อสารเป็นไปอย่างสะดวก สังคมโดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นมีแนวโน้มการตามแบบอย่างตะวันตก ปัญหานี้จึงควรเป็นปัญหาที่จะต้องจับตามองอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้มาตรการและกฎหมายอาจจะ ต้องแก้ไขเพื่อให้มีบทลงโทษรุนแรงมากขึ้น ในขณะเดียวกันแพทย์ควรจะต้องมีบทบาททั้ง ผู้วินิจฉัยรักษาและป้องกัน โดยการให้ความรู้แก่ประชาชนในปัญหาดังกล่าวด้วย
เดือนพฤศจิกายน 2538 ที่ผ่านมาท่านคงได้รับทราบข่าวการตรวจพบโคเคนในกลุ่มดาราวัยรุ่น จากหน้า หนังสือพิมพ์บ้างแล้ว ชื่อ “โคเคน (Cocaine)” อาจจะไม่แพร่หลายในประเทศเรามากนัก แต่มักจะได้ยินเสมอๆ จากข่าวหรือภาพยนตร์จากต่างประเทศโดยเฉพาะจากประเทศสหรัฐอเมริกา ในประเทศไทยเริ่มมีรายงานประปราย มานาน แต่ระยะหลังมีแนวโน้มว่าจะมีปัญหาเพิ่มมากขึ้น บทความในฉบับนี้จะขอนำรายละเอียดของโคเคนเพื่ฮให้ท่าน ได้รู้จักกันดียิ่งขึ้น
โคเคนมีประวัติอันยาวนานมาก่อน เป็นสารที่ได้จากการสกัดใบของต้นโคคา (coca) ซึ่งมีมากในอเมริกา ใต้ ชาวอินเดียนในประเทศเปรูมีวัฒนธรรมเคี้ยวใบโคคามานานกว่า 1000 ปีก่อน ใบโคคาเข้าไปในยุโรปและอเมริกา ตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 19 Sigmund Freud ปรมาจารย์ทางจิตเวชได้ ใช้สารที่สกัดจากต้นโคคาเป็นยารักษาโรคจิต ซึมเศร้าและภาวะติดยาเสพติดอื่นๆ ต่อมาทางการแพทย์ ใช้โคเคนเพื่อเป็นยาชาเฉพาะที่ ในช่วงระยะเดียวกันนั่นเอง ที่มีการผลิตเครื่องดื่มที่ทำจากใบโคคาและ caffeine ชื่อ “coca cola” และได้รับความนิยมแพร่หลายอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งในต้นศตวรรษที่ 20 ทางบริษัทจึงได้ยอมที่จะสกัดเอาสารโคเคนออกจากใบโคคาก่อนนำ ไปปรุงเครื่อง ดื่มโคเคนยังเป็นสาเหตุสำคัญหนึ่งที่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกา และประเทศเพื่อนบ้านทางใต้คือเม็กซิโก และประเทศในทวีปอเมริกาใต้ไม่ราบรื่น เพราะประเทศเหล่านี้ เป็นแหล่งผลิตและลักลอบ ส่งสารโคเคน เข้าสหรัฐอเมริกา ในสมัยประธานาธิบดีจอร์ช บุช สหรัฐอเมริกาใช้กำลังทหารเข้าไปจับผู้นำประเทศ แห่งหนึ่งมาขึ้นศาลสหรัฐอเมริกา ในข้อหาลักลอบค้าโคเคนนี่เอง
โคเคนเริ่มมีการนำมาใช้เป็นสารเสพติดชนิดกระตุ้นประสาทตั้งแต่ปี 1920 แต่การแพร่ ระบาดหนักที่สุด ก็คือ ตั้งแต่ปี 1970 เป็นต้นมา สาเหตุเนื่องจากได้มีพัฒนาการการผลิตโคเคน ที่ทำให้ได้โคเคนในราคาถูก ใช้ได้ง่าย และ ออกฤทธิ์เร็ว โคเคนเป็นสาร alkaloid cocaine ซึ่งมักจะเป็น cocaine hydrochloriteอยู่ในรูปของผง หรือเกร็ดสีขาว ไม่ทนต่อความร้อนต้องใช้โดยวิธีฉีด พัฒนาการของโคเคนที่เกิดขึ้นในช่วงหลังคือ การทำให้เป็น cocaine base ซึ่งจะทนความร้อน หลังละลายและกลายเป็นไอที่อุณหภูมิมากกว่า 98 องศาเซลเซียส ทำให้ง่ายต่อการเสพย์โดยการสูบ เหมือนบุหรี่
โคเคนออกฤทธิ์เหมือนยาม้า (amphetamine) โดยยับยั้ง dopamine ที่บริเวณ presynaptic ทำให้มีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง และทำให้มีภาวะกระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติ sympathetic เมื่อเทียบกับ amphetamine โคเคนออกฤทธิ์เร็วแต่สั้นกว่า การเสพย์โคเคนสามารถ ทำได้ทั้งวิธีสูดดมเหมือนดมยานัตถ์ มวนสูบเหมือนสูบบุหรี่ และผสมน้ำฉีดเข้าหลอดเลือดดำ โคเคนที่ถูกดูดซึมเข้าทางระบบทางเดินหายใจออกฤทธิ์ได้เร็วเท่ากับการฉีดทาง หลอดเลือดดำภายใน 20 นาทีโคเคนจะทำให้ผู้เสพมีภาวะของ euphoria ซึ่งถือว่าเกิดฤทธิ์ที่ผู้เสพย์ต้องการ แต่บ่อยครั้ง ที่จะพบอาการที่ไม่พึงประสงค์อื่นตามด้วยเช่น มีภาพหลอน อาเจียน มีอาการจากการกระตุ้น ระบบประสาท sympathetic คือ ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็วหรือผิดจังหวะ ภาวะแทรกซ้อน จากการเสพโคเคนที่สำคัญคือ ภาวะแทรกซ้อนของระบบหัวใจและหลอดเลือด และในระบบประสาท จากสถิติพบว่าโคเคนเป็นสาเหตุทำให้อุบัติการของ sudden cardiac arrest, cardiac arrhythmias และ status epilepticus สูงขึ้น
ผู้เสพย์โคเคนบางราย มาพบแพทย์ด้วยอาการเจ็บหน้าอกแบบ angina pain หรือมีภาวะของ กล้ามเนื้อหัวใจตาย (acute myocardial infarction) ซึ่งเกิดขึ้นแม้ในคนอายุน้อยที่ไม่มีปัจจัยอื่นๆ ของโรคหัวใจ บางรายอาจทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ (arrhythmia) และเสียชีวิตอย่างเฉียบพลันได้ สำหรับภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาทที่พบได้บ่อยคือ ชัก, status epilepticus, ischemic stroke , subarachnoid และ intracerebral hemorrhage การที่มีภาวะประสาทหลอน (hallucination) ทำให้ มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุหรือการบาดเจ็บได้สูง เกิดมีภาวะ rhabdomyolysis และ renal failure ทั้งจากโคเคนเองและจากการที่ได้รับบาดเจ็บ ในรายที่เสพเป็นเวลานานจะมี paranoid psychosis เกิดพฤติกรรมที่ก้าวร้าวรุนแรง เป็นอันตรายต่อสังคมได้เช่นเดียวกับที่พบในยาม้า
การวินิจฉัยได้จากประวัติและการตรวจร่างกายเป็นหลัก ผู้ป่วยที่มีอาการกระสับกระส่าย สับสน เห็นภาพหลอน มีอาการเหมือนเสพยาม้า ร่วมกับมีอาการของ sympathetic overactivity หรือถ้าผู้ป่วย มาด้วยปัญหาของโรคหัวใจ ขาดเลือดหรืออาการชักที่หาสาเหตุอื่นไม่ได้ เราควรจะต้องสงสัยว่า ผู้ป่วยเสพย์โคเคน นอกจากนี้การตรวจทางห้องปฏิบัติ การก็จะช่วยในการวินิจฉัยด้วยเพราะ ถึงแม้โคเคนจะมีฤทธิ์ที่สั้น แต่ metabolite ของมันคือ benzolecgonine ซึ่งจะถูกขับออกทางปัสสาวะ สามารถตรวจพบในปัสสาวะได้นานถึง 24-36 ชั่วโมงหลังได้ยา ซึ่งขณะนี้หน่วยพิษวิทยา รพ.รามาธิบดี สามารถตรวจ benzolecgonine ได้แล้ว
โคเคนอาจจะเป็นยากระตุ้นประสาทตัวใหม่ที่จะเข้ามาในสังคมไทยมากขึ้น ในยุคที่การติดต่อ สื่อสารเป็นไปอย่างสะดวก สังคมโดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นมีแนวโน้มการตามแบบอย่างตะวันตก ปัญหานี้จึงควรเป็นปัญหาที่จะต้องจับตามองอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้มาตรการและกฎหมายอาจจะ ต้องแก้ไขเพื่อให้มีบทลงโทษรุนแรงมากขึ้น ในขณะเดียวกันแพทย์ควรจะต้องมีบทบาททั้ง ผู้วินิจฉัยรักษาและป้องกัน โดยการให้ความรู้แก่ประชาชนในปัญหาดังกล่าวด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น