วันพฤหัสบดีที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2559

ยาไอซ์

                                                                   ยาไอซ์
                                 
ยาไอซ์นั้นมีลักษณะเป็นผลึกใสคล้ายก้อนน้ำแข็งจึงเป็นที่มาของคำว่ายาไอซ์ ยาไอซ์เป็นยาเสพติดประเภทที่ 1 ประเภทเดียวกับยาบ้า สารหลักในยาไอซ์คือ เมทแอมเฟตามีนไฮโดรคลอไรด์ มีฤทธิ์กระตุ้นประสาทให้เกิดอาการหลอน พิษของยาไอซ์รุนแรงกว่ายาบ้า ผู้เสพหลายคนที่เป็นผู้หญิงมักเข้าใจผิดว่าเสพยาไอซ์แล้วจะทำให้ผอม ผิวขาวสวย จากสถิติพบการจับกุมยาไอซ์เพิ่มขึ้นถึง 7.8 เท่า และมีผู้เข้ารับบำบัดยาไอซ์เพิ่มสูงถึง 7.4 เท่า ข้อมูลตั้งแต่ปี 2550-2554 และประมาณการผู้เสพยาไอซ์ 130,000 คน และข้อมูลผู้เข้ารับบำบัดรักษายาเสพติดทั่วประเทศ เดือนมีนาคม 2555 พบว่ามีช่วงอายุ 20-24 ปีที่มากที่สุดถึง 1,744 ราย และช่วงอายุ 15-19 ปี จำนวน 1,000 ราย และเป็นช่วงอายุที่เริ่มเสพยามากที่สุด

มันคือหนึ่งในยาเสพติดที่ร้ายแรงบนโลกใบนี้ ชื่อของมันคือไอซ์ หรือเมทแอมเฟตามีนไฮโดรคลอไรด์ ยาไอซ์จำนวนมากหลั่งไหลเข้ามาในประเทศไทยจากพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำ เพียงแค่ 12% เท่านั้นที่ถูกส่งต่อไปยังประเทศอื่น มันเริ่มจากพืชที่ชื่อมาฮวง(Ma-huang) ซึ่งแพทย์จีนใช้ในการรักษาโรคมานานกว่า 5,000 ปี จนปีค.ศ.1887 นักเคมีพบสารอีฟรีดินในมาฮวง และเริ่มมีการสังเคราะห์สารเมทแอมเฟตามีนจากอีฟริดินขึ้นในปีค.ศ.1893 กลายเป็นยาเสพติดอันตรายที่สร้างปัญหาต่อมนุษยชาติ เช่นยาบ้า ยาอีหรือ Ecstasy ยาไอซ์เป็นสารกระตุ้นตัวหนึ่งในกลุ่มนี้ เมื่อยาไอซ์เข้าไปในร่างกายมันจะออกฤทธิ์กระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวอย่าง รุนแรง ทางด้านร่างกาย หัวใจจะเต้นแรงกว่าปกติ ความดันโลหิตสูง กล้ามเนื้อเกร็งตัวและทำงานมาก ทางด้านจิตใจจะเกิดความอยาก หรือสนใจในสิ่งหนึ่งสิ่งใดเพิ่มมากขึ้น มีความตื่นตัวทางด้านอารมณ์มาก เคลิบเคลิ้ม จิตใจจะอยู่กับสิ่งที่ถูกชักนำในเวลานั้น กล้าที่จะทำ กล้าที่จะพูดมากขึ้น

เมื่อเสพยาไอซ์เป็นเวลานานจะเกิดผลเสียดังนี้
ผลเสียของยาไอซ์ด้านร่างกาย
จะเกิดอาการปวดท้อง แน่นหน้าอก หายใจไม่ทัน ปวดหัว ปวดเบ้าตา ที่คอจะมีเม็ด มีหนอง ร้อนใน ปวดรากฟัน มีกลิ่นปากเหม็น มีเสมหะขาวข้นตลอดเวลา ลิ้นแข็ง พูดไม่ชัด
ผลเสียของยาไอซ์ด้านจิตใจ
จะมีอารมณ์แปรปรวน ขึ้นลงง่าย ขี้ระแวง ขี้ใจน้อย คิดเล็กคิดน้อย จนทำให้ไม่ไว้ใจคนอื่น หงุดหงิด ฉุนเฉียว โกรธง่าย เกิดความฟุ้งซ่านมากขึ้น เมื่อใช้นานวันเข้าจะทำให้เกิดอาการทางจิต ประสาทหลอน หวาดระแวง ก้าวร้าว
เมื่อถึงเวลานั้น แม้ผู้เสพติดต้องการจะเลิก แต่ยาไอซ์ก็เข้าไปเปลี่ยนการทำงานของสมองและระบบประสาท มันทำให้กลไกการหลั่งสารเคมีที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกสุขในสมองของผู้เสพ ทำงานผิดปกติ ผู้เสพจะไม่สามารถรู้สึกสุขตามธรรมชาติได้ด้วยตนเอง หากแต่ต้องพึ่งพาฤทธิ์ของยาไอซ์ กลายเป็นทาสของมันอย่างสมบูรณ์แบบ

โดยทั่วไปแล้วยาไอซ์จะกระตุ้นให้สมองหลั่งสารโดพามีนมากๆ ดังนั้นผู้ที่เสพจึงรู้สึกมีความสุข คึกคัก อารมณ์ดี ไม่ง่วง แต่ถ้าใช้ไปนานๆ สารในสมองนี้ก็จะหายไป และในที่สุดก็จะกลายเป็นโรคซึมเศร้า เป็นโรคจิตได้ ยาไอซ์จัดเป็นยาเสพติดให้โทษชนิดรุนแรง จึงมีบทลงโทษต่อผู้ผลิต ผู้นำเข้า ส่งออก และผู้ค้า สูงสุดถึงขั้นประหารชีวิต แต่กระนั้นก็ไม่สามารถยับยั้งการระบาดของไอซ์อย่างเด็ดขาดได้ จากข้อมูลการรักษาพบว่า ผู้เสพไอซ์จะเกิดการผิดปกติทางจิตเร็วกว่าผู้เสพยาบ้า แต่เนื่องจากไอซ์มีราคาแพง นักค้ายาจึงปรับการขาย โดยแบ่งขายย่อยตามกำลังซื้อของผู้เสพ เพื่อให้เยาวชนทั่วไปสามารถเข้าถึงไอซ์ได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังมีการจักปาร์ตี้เพื่อให้ลูกค้าหน้าใหม่ได้ลองใช้ กลยุทธเหล่านี้ทำให้ยาไอซ์ระบาดในหมู่เยาวชนตามสถานศึกษาและชุมชนมากขึ้นควบ คู่ไปกับยาบ้า

อีกกลยุทธหนึ่งที่ใช้ส่งเสริมในการขายยาไอซ์ในหมู่เยาวชนก็คือการสื่อสารกัน ปากต่อปากและทางอินเตอร์เน็ต โดยการสร้างข่าวความเชื่อผิดๆเกี่ยวกับยาไอซ์ว่าเป็นยาเสพติดชั้นสูงสำหรับ คนมีระดับ ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทำให้หุ่นดี ผิวขาวสวย ไม่ทรุดโทรม เสพแล้วอารมณ์ดี เข้าสังคมได้ง่าย เพิ่มความสนุกสนานในการเที่ยวเตร่ สรรพคุณที่ว่าเหล่านี้ล้วนโดนใจเหล่าวัยรุ่นที่กำลังอยู่ในกระแสค่านิยมที่ รักความสนุกสนาน รักความสวยความงาม ซึ่งทำให้ไอซ์แพร่ระบาดไปได้อย่างรวดเร็ว



แต่จากการศึกษาถึงการออกฤทธิ์ของยาไอซ์ โดยพิจารณาระดับของสารสื่อประสาทที่กระตุ้นความรู้สึกสุขในสมองและระบบ ประสาทของผู้เสพไอซ์ขณะก่อนเสพและขณะที่ไอซ์เข้าไปออกฤทธิ์พบว่า สารสื่อประสาทในด้านความรู้สึกสุขมีความแตกต่างกันอย่างมาก กล่าวได้ว่ายาไอซ์ทำให้ผู้เสพเกิดการติดได้ตั้งแต่ครั้งแรกที่เสพ การลองไอซ์เพียงครั้งเดียวอาจเปลี่ยนชีวิตคุณไปตลอดกาล ขณะเดียวกันข้อมูลการจับกุบและการรักษาในหลายประเทศพบว่าผู้เสพไอซ์จะมี อาการทรุดโทรมลงอย่างวดเร็ว ใบหน้าแก่กว่าวัยและมีบาดแผลตามใบหน้าและร่างกาย เนื่องจากขาดสติและการระมัดระวังตนเอง ละเลยสุขอนามัย ยาไอซ์จึงไม่ไดทำให้ผู้เสพสวยงามขึ้นตามความเชื่อที่นักค้ายาพยายามสร้าง ขึ้น





นอกจากนี้ในการผลิตไอซ์ต้องใช้สารเคมีประเภทกรด ซึ่งจะมีบางส่วนตกค้างอยู่ในไอซ์ ทำให้ผู้เสพส่วนใหญ่มีอาการโรคในช่องปาก ฟันผุกลายเป็นสีดำ ฟันโยกเก และหลุดไปในที่สุด อาการนี้จะรุนแรงกว่าฟันผุธรรมดาเพราะจะเป็นทั่วทั้งช่องปาก เช่นเดียวกับยาบ้าเนื่องจากมีสารเคมีตัวเดียวกัน ผู้ที่ใช้ยาไอซ์ติดต่อกันนานๆ จะเกิดอาการทางจิตโดยเฉพาะอาการหวาดระแวง มีแนวโน้มใช้ความรุนแรง ทำร้ายตนเองและผู้อื่น กลายเป็นความเดือดร้อนทางสังคม เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นในช่วงที่ยาบ้าแพร่ระบาดอย่างมาก จากแนวโน้มการระบาดของยาไอซ์ประมาณการได้ว่าในปี 2560 จะมีผู้เสพยาไอซ์ถึงแปดล้านคน คิดเป็น 12% ของประชาการไทยในเวลานั้น หากคนไทยไม่เริ่มตระหนักถึงหายนะนี้ และไม่เริ่มดูแลลูกหลาน และคนในครอบครัว เป็นหูเป็นตาสอดส่องการแพร่ระบาดของยาเสพติดทั้งหลายให้ได้ตั้งแต่วันนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น