วันพฤหัสบดีที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2559

ฝิ่น

ฝิ่น



ชื่อทั่วไป


ฝิ่น (Opium)

ชื่ออื่น ๆ

PAPAVER SOMNIFERUM และ PAPAVER BRACTEATUM (ชื่อทางพฤกษศาสตร์)
หมู (ฝิ่นที่คลุกยาฉุน ยาเส้น ใบพลู ใบจาก หรือกัญชาใช้ม้วนสูบด้วยกล้อง)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์

-

สารเคมีที่ออกฤทธิ์

Morphine และ อัลคาลอยด์ของฝิ่น

ลักษณะทางกายภาพ

เนื้อฝิ่นได้มาจากยางของผลฝิ่นที่ถูกกรีดจะมีสีขาว เมื่อถูกอากาศจะมีสีคล้ำลง กลายเป็นยาง
เหนียวสีน้ำตาลไหม้ หรือดำ มีกลิ่นเหม็นเขียวและรสขม เรียนว่า “ฝิ่นดิบ” ส่วนฝิ่นที่มีการนำมาใช้เสพ
เรียกว่า “ฝิ่นสุก” ได้มาจากนำฝิ่นดิบไปต้มหรือเคี่ยวจนสุก

ประวัติความเป็นมา

ฝิ่น เป็นยาเสพติดให้โทษที่สำคัญชนิดแรกที่แพร่เข้ามาสู่ประเทศไทย แต่จะเข้ามาตั้งแต่เมื่อใดไม่
ปรากฏหลักฐานยืนยันจากการสันนิษฐานทางประวัติศาสตร์ น่าเชื่อว่าคนไทยได้รับอิทธิพลถ่ายทอด
เกี่ยวกับเรื่องฝิ่นมาจากชาวจีนในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น เนื่องจากมีสำเภาจีนเดินทางบรรทุกสินค้า
เข้ามาค้าขายกับคนไทยจนเป็นที่นิยมในกรุงศรีอยุธยา จนสืบเนื่องมาถึงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นก็ยังคง
มีการจำหน่ายและเสพฝิ่นกันอยู่อย่างแพร่หลายโดยรัฐบาลเพียงแต่เข้มงวด
ในเรื่องการควบคุมภาษีฝิ่นเท่านั้น แต่ยังมีคนไทยลักลอบซื้อขาย และสูบฝิ่นกันอยู่จำนวนมาก

ฝิ่น
ต่อมาในปี พ.ศ.2501 คณะปฏิวัติภายใต้การนำของ ฯพณฯจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เห็นสมควรให้การเสพ
และจำหน่ายฝิ่นในประเทศไทยเป็นสิ่งผิดกฎหมาย และได้มีประกาศของคณะปฏิวัติให้เลิกการเสพและ
จำหน่ายฝิ่นโดยเด็ดขาดทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2502 เป็นต้นไป

ประเภทของยา

ฝิ่น (ฝิ่นดิบ ฝิ่นสุก มูลฝิ่น) จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 2พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522

แหล่งผลิต

ฝิ่นเป็นพืชล้มลุกขึ้นในที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 3,000 ฟุตขึ้นไป เป็นยาเสพติดที่เป็นต้นตอของ
ยาเสพติดร้ายแรง
เช่น มอร์ฟีน เฮโรอีน และโคเดอีน นอกจากประเทศไทยจะประสบปัญหาการลักลอบค้าและการลำเลียง
ฝิ่นตามแนวชายแดนจากประเทศเพื่อนบ้านแล้ว ยังมีการลักลอบปลูกฝิ่นในประเทศไทย โดยใน ปี 2541/2542 มีพื้น
ที่ปลูกฝิ่นประมาณ9,007 ไร่ ลดลงจากปี 2540/2541 ประมาณ 279 ไร่ กองทัพบกและตำรวจภูธรได้
เข้าปฏิบัติการตัดฟันทำลาย
ไร่ฝิ่น 5,051 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 56.08 ของพื้นที่ปลูกฝิ่นทั้งหมดในประเทศ
พื้นที่ที่มีการลักลอบปลูกฝิ่นมาก ได้แก่ พื้นที่ อ.อมก๋อย อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ อ.ปาย อ.ปางมะผ้า
จ.แม่ฮ่องสอน อ.เวียงป่าเป้าจ.เชียงราย และ อ.ท่าสองยาง จ.ตาก โดยมีการลักลอบปลูกหลายครั้งใน
พื้นที่เดียวกัน และมีแนวโน้มที่จะปลูกเพื่อการค้ามากขึ้น

การแพร่ระบาด

จากสถิติผู้เข้ารับการบำบัดรักษา พบว่า ผู้เสพส่วนใหญ่ยังคงเป็นผู้เสพเดิมและมักจะเสพกันในกลุ่ม
ผู้ที่มีอายุมากคือ ตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ไม่ได้รับการศึกษาเลย หรือได้รับการศึกษา
น้อยเพียงระดับประถมศึกษา
กลุ่มผู้เสพประกอบอาชีพเกษตรกรหรือรับจ้าง เมื่อพิจารณาจากสถิติผู้เข้ารับการบำบัดรักษา พบว่า
ภาคเหนือเป็นพื้น
ที่ที่มีปัญหาการแพร่ระบาดฝิ่นมาก โดยเฉพาะใน จ.เชียงใหม่ จ.เชียงราย จ.แม่ฮ่องสอนและ จ.ตาก

การออกฤทธิ์

ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางมีผลกดประสาท โดยกดการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง
สารเคมีที่มีผสมอยู่มากมายในเนื้อฝิ่น ซึ่งประกอบด้วย โปรตีน เกลือแร่ ยาง และกรดอินทรีย์ เป็น Alkaloid ซึ่งเป็นสารผสมอยู่ในเนื้อฝิ่นอันเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ฝิ่นกลายเป็นยาเสพ ติดให้โทษที่ร้ายแรง Alkaloid
ในฝิ่นมีประมาณ25 ชนิด แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
ประเภทที่ 1 ออกฤทธิ์ทำให้เกิดอาการมึนเมา และเป็นยาเสพติดให้โทษโดยตรง Alkaloid ประเภทน
ี้ ทางเภสัชวิทยาถือ
ว่าเป็นยาทำให้นอนหลับ (Hypnotic)
ประเภทที่ 2 ออกฤทธิ์ทำให้กล้ามเนื้อหย่อนคลายตัว
ซึ่งในทางเภสัชวิทยาถือว่า Alkaloid ในฝิ่นประเภทนี้ไม่เป็นสารเสพติด แต่มีฤทธิ์ทำให้กล้ามเนื้อของ
ร่างกายหย่อนคลายตัว

ผลต่อร่างกาย

ในขณะที่ผู้เสพตกอยู่ใต้อิทธิพลของยาเสพติดจะมีอาการง่วงนอน เซื่องซึม ชีพจรเต้นช้า ไม่รู้สึกหิว ไม่พูดมาก และ
ไม่สนใจกับสิ่งต่างๆรอบตัว อาจจะนั่งเหม่อมองออกไปโดยไม่มีจุดหมาย นัยน์ตาอาจเปลี่ยนสีและขนาดของม่านตาอาจจะ
เล็กลงเท่าขนาดรูเข็ม เมื่อเริ่มมีความต้องการยาครั้งต่อไปและมีอาการของการขาดยาเสพติดจะมีลักษณะ อาการเริ่มต้น คือ
น้ำตา น้ำมูกไหล ปวดหัว เกิดอาการคัน หาวนอน ขนลุก สะบัดร้อนสะบัดหนาว ม่านตาขยาย ผู้ติดยาเสพติดจะหงุดหงิด
กระวนกระวาย ตื่นตกใจ อาการขั้นรุนแรงขึ้น คือ นอนไม่หลับ เหงื่อออก ปวดเมื่อยตามแขนขา คลื่นเหียนอาเจียน
มีอาการท้องร่วง

การบำบัด
ขั้นตอนการบำบัดรักษาฝิ่นมี 4 ขั้นตอนดังนี้ 1. ขั้นเตรียมการ เป็นการเตรียมตัวผู้ติดยาเสพติดให้พร้อมที่
จะเข้ารับการบำบัดรักษาให้เกิดความเชื่อมั่นและมีความตั้งใจ
จริงที่จะเลิกยาเสพติด นอกจากนี้ยังต้องเตรียมความพร้อมญาติพี่น้องและครอบครัว หรือผู้ใกล้ชิดให้เข้า
มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาต่างๆ 2. ขั้นถอนพิษยา ในขั้นตอนนี้ผู้ติดฝิ่นที่มีความตั้งใจที่จะเลิก โดยการหยุดเสพแล้วจะมีความอยากและความต้องการยาเสพติดอยู่เหมือนเช่นเคย ดังนั้น การบำบัดรักษา
จะเลือกใช้วิธีการใดขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ใช้ ปริมาณการใช้และความตั้งใจของผู้เสพ หากเสพในปริมาณมากและเป็น
เวลานานหลายปี จะมีอาการถอนพิษยา (Withdrawal Symptoms) เช่น หาวนอน น้ำมูก น้ำตาไหล เหงื่อออกมาก
มีอาการทุรนทุราย หงุดหงิด
ปวดกล้ามเนื้อ ปวดท้อง ท้องเดิน อาเจียน รายที่รุนแรงอาจถ่ายเป็นเลือดที่ชาวบ้าน เรียกว่า “ลงแดง”
หรือมีอาการชักเกิดขึ้น
เพราะอาการต่างๆ อาจรุนแรง ถึงชีวิตได้ แต่หากเริ่มเสพมาไม่นานนักและมีความตั้งใจที่จะเลิกจริงๆ
วิธีที่ดีที่สุด คือการหยุดใช้ยาเองหรือที่เรียกว่า
“หักดิบ” พักผ่อนให้เต็มที่ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายให้ร่างกายแข็งแรงก็จะสามารถถอน
พิษยาออกจากร่างกายได้ในที่สุด
โดยจะใช้เวลาไม่นานกว่า 15 วัน 3. ขั้นฟื้นฟูสมรรถภาพ เป็นการปรับสภาพร่างกายและจิตใจของผู้เลิกยาเสพติด
ให้มีความเข้มแข็งปรับเปลี่ยนบุคลิกภาพ ความคิด ความรู้สึกและพฤติกรรมให้สามารถกลับสู่สังคมได้อย่างปกติ โดยการให้คำปรึกษาการฟื้นฟูสมรรถภาพแบบชุมชนบำบัด เป็นต้น ซึ่งผู้ติดยาเสพติดสามารถเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพได้ที่ศูนย์ฟื้น
ฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดที่มีอยู่ทั่วประเทศ 4. ขั้นติดตามดูแลหลังรักษา เป็นการติดตามดูแลผู้เลิกยาเสพติด
ที่ผ่านการบำบัดรักษา ทั้ง 3 ขั้นตอน เพื่อให้คำแนะนำปรึกษา ให้กำลังใจ ทั้งนี้เพื่อมิให้หวนกลับไปเสพยาเสพติดซ้ำ

ยาไอซ์

                                                                   ยาไอซ์
                                 
ยาไอซ์นั้นมีลักษณะเป็นผลึกใสคล้ายก้อนน้ำแข็งจึงเป็นที่มาของคำว่ายาไอซ์ ยาไอซ์เป็นยาเสพติดประเภทที่ 1 ประเภทเดียวกับยาบ้า สารหลักในยาไอซ์คือ เมทแอมเฟตามีนไฮโดรคลอไรด์ มีฤทธิ์กระตุ้นประสาทให้เกิดอาการหลอน พิษของยาไอซ์รุนแรงกว่ายาบ้า ผู้เสพหลายคนที่เป็นผู้หญิงมักเข้าใจผิดว่าเสพยาไอซ์แล้วจะทำให้ผอม ผิวขาวสวย จากสถิติพบการจับกุมยาไอซ์เพิ่มขึ้นถึง 7.8 เท่า และมีผู้เข้ารับบำบัดยาไอซ์เพิ่มสูงถึง 7.4 เท่า ข้อมูลตั้งแต่ปี 2550-2554 และประมาณการผู้เสพยาไอซ์ 130,000 คน และข้อมูลผู้เข้ารับบำบัดรักษายาเสพติดทั่วประเทศ เดือนมีนาคม 2555 พบว่ามีช่วงอายุ 20-24 ปีที่มากที่สุดถึง 1,744 ราย และช่วงอายุ 15-19 ปี จำนวน 1,000 ราย และเป็นช่วงอายุที่เริ่มเสพยามากที่สุด

มันคือหนึ่งในยาเสพติดที่ร้ายแรงบนโลกใบนี้ ชื่อของมันคือไอซ์ หรือเมทแอมเฟตามีนไฮโดรคลอไรด์ ยาไอซ์จำนวนมากหลั่งไหลเข้ามาในประเทศไทยจากพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำ เพียงแค่ 12% เท่านั้นที่ถูกส่งต่อไปยังประเทศอื่น มันเริ่มจากพืชที่ชื่อมาฮวง(Ma-huang) ซึ่งแพทย์จีนใช้ในการรักษาโรคมานานกว่า 5,000 ปี จนปีค.ศ.1887 นักเคมีพบสารอีฟรีดินในมาฮวง และเริ่มมีการสังเคราะห์สารเมทแอมเฟตามีนจากอีฟริดินขึ้นในปีค.ศ.1893 กลายเป็นยาเสพติดอันตรายที่สร้างปัญหาต่อมนุษยชาติ เช่นยาบ้า ยาอีหรือ Ecstasy ยาไอซ์เป็นสารกระตุ้นตัวหนึ่งในกลุ่มนี้ เมื่อยาไอซ์เข้าไปในร่างกายมันจะออกฤทธิ์กระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวอย่าง รุนแรง ทางด้านร่างกาย หัวใจจะเต้นแรงกว่าปกติ ความดันโลหิตสูง กล้ามเนื้อเกร็งตัวและทำงานมาก ทางด้านจิตใจจะเกิดความอยาก หรือสนใจในสิ่งหนึ่งสิ่งใดเพิ่มมากขึ้น มีความตื่นตัวทางด้านอารมณ์มาก เคลิบเคลิ้ม จิตใจจะอยู่กับสิ่งที่ถูกชักนำในเวลานั้น กล้าที่จะทำ กล้าที่จะพูดมากขึ้น

เมื่อเสพยาไอซ์เป็นเวลานานจะเกิดผลเสียดังนี้
ผลเสียของยาไอซ์ด้านร่างกาย
จะเกิดอาการปวดท้อง แน่นหน้าอก หายใจไม่ทัน ปวดหัว ปวดเบ้าตา ที่คอจะมีเม็ด มีหนอง ร้อนใน ปวดรากฟัน มีกลิ่นปากเหม็น มีเสมหะขาวข้นตลอดเวลา ลิ้นแข็ง พูดไม่ชัด
ผลเสียของยาไอซ์ด้านจิตใจ
จะมีอารมณ์แปรปรวน ขึ้นลงง่าย ขี้ระแวง ขี้ใจน้อย คิดเล็กคิดน้อย จนทำให้ไม่ไว้ใจคนอื่น หงุดหงิด ฉุนเฉียว โกรธง่าย เกิดความฟุ้งซ่านมากขึ้น เมื่อใช้นานวันเข้าจะทำให้เกิดอาการทางจิต ประสาทหลอน หวาดระแวง ก้าวร้าว
เมื่อถึงเวลานั้น แม้ผู้เสพติดต้องการจะเลิก แต่ยาไอซ์ก็เข้าไปเปลี่ยนการทำงานของสมองและระบบประสาท มันทำให้กลไกการหลั่งสารเคมีที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกสุขในสมองของผู้เสพ ทำงานผิดปกติ ผู้เสพจะไม่สามารถรู้สึกสุขตามธรรมชาติได้ด้วยตนเอง หากแต่ต้องพึ่งพาฤทธิ์ของยาไอซ์ กลายเป็นทาสของมันอย่างสมบูรณ์แบบ

โดยทั่วไปแล้วยาไอซ์จะกระตุ้นให้สมองหลั่งสารโดพามีนมากๆ ดังนั้นผู้ที่เสพจึงรู้สึกมีความสุข คึกคัก อารมณ์ดี ไม่ง่วง แต่ถ้าใช้ไปนานๆ สารในสมองนี้ก็จะหายไป และในที่สุดก็จะกลายเป็นโรคซึมเศร้า เป็นโรคจิตได้ ยาไอซ์จัดเป็นยาเสพติดให้โทษชนิดรุนแรง จึงมีบทลงโทษต่อผู้ผลิต ผู้นำเข้า ส่งออก และผู้ค้า สูงสุดถึงขั้นประหารชีวิต แต่กระนั้นก็ไม่สามารถยับยั้งการระบาดของไอซ์อย่างเด็ดขาดได้ จากข้อมูลการรักษาพบว่า ผู้เสพไอซ์จะเกิดการผิดปกติทางจิตเร็วกว่าผู้เสพยาบ้า แต่เนื่องจากไอซ์มีราคาแพง นักค้ายาจึงปรับการขาย โดยแบ่งขายย่อยตามกำลังซื้อของผู้เสพ เพื่อให้เยาวชนทั่วไปสามารถเข้าถึงไอซ์ได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังมีการจักปาร์ตี้เพื่อให้ลูกค้าหน้าใหม่ได้ลองใช้ กลยุทธเหล่านี้ทำให้ยาไอซ์ระบาดในหมู่เยาวชนตามสถานศึกษาและชุมชนมากขึ้นควบ คู่ไปกับยาบ้า

อีกกลยุทธหนึ่งที่ใช้ส่งเสริมในการขายยาไอซ์ในหมู่เยาวชนก็คือการสื่อสารกัน ปากต่อปากและทางอินเตอร์เน็ต โดยการสร้างข่าวความเชื่อผิดๆเกี่ยวกับยาไอซ์ว่าเป็นยาเสพติดชั้นสูงสำหรับ คนมีระดับ ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทำให้หุ่นดี ผิวขาวสวย ไม่ทรุดโทรม เสพแล้วอารมณ์ดี เข้าสังคมได้ง่าย เพิ่มความสนุกสนานในการเที่ยวเตร่ สรรพคุณที่ว่าเหล่านี้ล้วนโดนใจเหล่าวัยรุ่นที่กำลังอยู่ในกระแสค่านิยมที่ รักความสนุกสนาน รักความสวยความงาม ซึ่งทำให้ไอซ์แพร่ระบาดไปได้อย่างรวดเร็ว



แต่จากการศึกษาถึงการออกฤทธิ์ของยาไอซ์ โดยพิจารณาระดับของสารสื่อประสาทที่กระตุ้นความรู้สึกสุขในสมองและระบบ ประสาทของผู้เสพไอซ์ขณะก่อนเสพและขณะที่ไอซ์เข้าไปออกฤทธิ์พบว่า สารสื่อประสาทในด้านความรู้สึกสุขมีความแตกต่างกันอย่างมาก กล่าวได้ว่ายาไอซ์ทำให้ผู้เสพเกิดการติดได้ตั้งแต่ครั้งแรกที่เสพ การลองไอซ์เพียงครั้งเดียวอาจเปลี่ยนชีวิตคุณไปตลอดกาล ขณะเดียวกันข้อมูลการจับกุบและการรักษาในหลายประเทศพบว่าผู้เสพไอซ์จะมี อาการทรุดโทรมลงอย่างวดเร็ว ใบหน้าแก่กว่าวัยและมีบาดแผลตามใบหน้าและร่างกาย เนื่องจากขาดสติและการระมัดระวังตนเอง ละเลยสุขอนามัย ยาไอซ์จึงไม่ไดทำให้ผู้เสพสวยงามขึ้นตามความเชื่อที่นักค้ายาพยายามสร้าง ขึ้น





นอกจากนี้ในการผลิตไอซ์ต้องใช้สารเคมีประเภทกรด ซึ่งจะมีบางส่วนตกค้างอยู่ในไอซ์ ทำให้ผู้เสพส่วนใหญ่มีอาการโรคในช่องปาก ฟันผุกลายเป็นสีดำ ฟันโยกเก และหลุดไปในที่สุด อาการนี้จะรุนแรงกว่าฟันผุธรรมดาเพราะจะเป็นทั่วทั้งช่องปาก เช่นเดียวกับยาบ้าเนื่องจากมีสารเคมีตัวเดียวกัน ผู้ที่ใช้ยาไอซ์ติดต่อกันนานๆ จะเกิดอาการทางจิตโดยเฉพาะอาการหวาดระแวง มีแนวโน้มใช้ความรุนแรง ทำร้ายตนเองและผู้อื่น กลายเป็นความเดือดร้อนทางสังคม เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นในช่วงที่ยาบ้าแพร่ระบาดอย่างมาก จากแนวโน้มการระบาดของยาไอซ์ประมาณการได้ว่าในปี 2560 จะมีผู้เสพยาไอซ์ถึงแปดล้านคน คิดเป็น 12% ของประชาการไทยในเวลานั้น หากคนไทยไม่เริ่มตระหนักถึงหายนะนี้ และไม่เริ่มดูแลลูกหลาน และคนในครอบครัว เป็นหูเป็นตาสอดส่องการแพร่ระบาดของยาเสพติดทั้งหลายให้ได้ตั้งแต่วันนี้

โคเคน

                             โคเคน

Bulletin (October - December 1995 Vol.3 No.3)
          เดือนพฤศจิกายน 2538 ที่ผ่านมาท่านคงได้รับทราบข่าวการตรวจพบโคเคนในกลุ่มดาราวัยรุ่น จากหน้า หนังสือพิมพ์บ้างแล้ว ชื่อ “โคเคน (Cocaine)” อาจจะไม่แพร่หลายในประเทศเรามากนัก แต่มักจะได้ยินเสมอๆ จากข่าวหรือภาพยนตร์จากต่างประเทศโดยเฉพาะจากประเทศสหรัฐอเมริกา ในประเทศไทยเริ่มมีรายงานประปราย มานาน แต่ระยะหลังมีแนวโน้มว่าจะมีปัญหาเพิ่มมากขึ้น บทความในฉบับนี้จะขอนำรายละเอียดของโคเคนเพื่ฮให้ท่าน ได้รู้จักกันดียิ่งขึ้น
         โคเคนมีประวัติอันยาวนานมาก่อน เป็นสารที่ได้จากการสกัดใบของต้นโคคา (coca) ซึ่งมีมากในอเมริกา ใต้ ชาวอินเดียนในประเทศเปรูมีวัฒนธรรมเคี้ยวใบโคคามานานกว่า 1000 ปีก่อน ใบโคคาเข้าไปในยุโรปและอเมริกา ตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 19 Sigmund Freud ปรมาจารย์ทางจิตเวชได้ ใช้สารที่สกัดจากต้นโคคาเป็นยารักษาโรคจิต ซึมเศร้าและภาวะติดยาเสพติดอื่นๆ ต่อมาทางการแพทย์ ใช้โคเคนเพื่อเป็นยาชาเฉพาะที่ ในช่วงระยะเดียวกันนั่นเอง ที่มีการผลิตเครื่องดื่มที่ทำจากใบโคคาและ caffeine ชื่อ “coca cola” และได้รับความนิยมแพร่หลายอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งในต้นศตวรรษที่ 20 ทางบริษัทจึงได้ยอมที่จะสกัดเอาสารโคเคนออกจากใบโคคาก่อนนำ ไปปรุงเครื่อง ดื่มโคเคนยังเป็นสาเหตุสำคัญหนึ่งที่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกา และประเทศเพื่อนบ้านทางใต้คือเม็กซิโก และประเทศในทวีปอเมริกาใต้ไม่ราบรื่น เพราะประเทศเหล่านี้ เป็นแหล่งผลิตและลักลอบ ส่งสารโคเคน เข้าสหรัฐอเมริกา ในสมัยประธานาธิบดีจอร์ช บุช สหรัฐอเมริกาใช้กำลังทหารเข้าไปจับผู้นำประเทศ แห่งหนึ่งมาขึ้นศาลสหรัฐอเมริกา ในข้อหาลักลอบค้าโคเคนนี่เอง
        โคเคนเริ่มมีการนำมาใช้เป็นสารเสพติดชนิดกระตุ้นประสาทตั้งแต่ปี 1920 แต่การแพร่ ระบาดหนักที่สุด ก็คือ ตั้งแต่ปี 1970 เป็นต้นมา สาเหตุเนื่องจากได้มีพัฒนาการการผลิตโคเคน ที่ทำให้ได้โคเคนในราคาถูก ใช้ได้ง่าย และ ออกฤทธิ์เร็ว โคเคนเป็นสาร alkaloid cocaine ซึ่งมักจะเป็น cocaine hydrochloriteอยู่ในรูปของผง หรือเกร็ดสีขาว ไม่ทนต่อความร้อนต้องใช้โดยวิธีฉีด พัฒนาการของโคเคนที่เกิดขึ้นในช่วงหลังคือ การทำให้เป็น cocaine base ซึ่งจะทนความร้อน หลังละลายและกลายเป็นไอที่อุณหภูมิมากกว่า 98 องศาเซลเซียส ทำให้ง่ายต่อการเสพย์โดยการสูบ เหมือนบุหรี่
โคเคนออกฤทธิ์เหมือนยาม้า (amphetamine) โดยยับยั้ง dopamine ที่บริเวณ presynaptic ทำให้มีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง และทำให้มีภาวะกระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติ sympathetic เมื่อเทียบกับ amphetamine โคเคนออกฤทธิ์เร็วแต่สั้นกว่า การเสพย์โคเคนสามารถ ทำได้ทั้งวิธีสูดดมเหมือนดมยานัตถ์ มวนสูบเหมือนสูบบุหรี่ และผสมน้ำฉีดเข้าหลอดเลือดดำ โคเคนที่ถูกดูดซึมเข้าทางระบบทางเดินหายใจออกฤทธิ์ได้เร็วเท่ากับการฉีดทาง หลอดเลือดดำภายใน 20 นาทีโคเคนจะทำให้ผู้เสพมีภาวะของ euphoria ซึ่งถือว่าเกิดฤทธิ์ที่ผู้เสพย์ต้องการ แต่บ่อยครั้ง ที่จะพบอาการที่ไม่พึงประสงค์อื่นตามด้วยเช่น มีภาพหลอน อาเจียน มีอาการจากการกระตุ้น ระบบประสาท sympathetic คือ ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็วหรือผิดจังหวะ ภาวะแทรกซ้อน จากการเสพโคเคนที่สำคัญคือ ภาวะแทรกซ้อนของระบบหัวใจและหลอดเลือด และในระบบประสาท จากสถิติพบว่าโคเคนเป็นสาเหตุทำให้อุบัติการของ sudden cardiac arrest, cardiac arrhythmias และ status epilepticus สูงขึ้น
        ผู้เสพย์โคเคนบางราย มาพบแพทย์ด้วยอาการเจ็บหน้าอกแบบ angina pain หรือมีภาวะของ กล้ามเนื้อหัวใจตาย (acute myocardial infarction) ซึ่งเกิดขึ้นแม้ในคนอายุน้อยที่ไม่มีปัจจัยอื่นๆ ของโรคหัวใจ บางรายอาจทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ (arrhythmia) และเสียชีวิตอย่างเฉียบพลันได้ สำหรับภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาทที่พบได้บ่อยคือ ชัก, status epilepticus, ischemic stroke , subarachnoid และ intracerebral hemorrhage การที่มีภาวะประสาทหลอน (hallucination) ทำให้ มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุหรือการบาดเจ็บได้สูง เกิดมีภาวะ rhabdomyolysis และ renal failure ทั้งจากโคเคนเองและจากการที่ได้รับบาดเจ็บ ในรายที่เสพเป็นเวลานานจะมี paranoid psychosis เกิดพฤติกรรมที่ก้าวร้าวรุนแรง เป็นอันตรายต่อสังคมได้เช่นเดียวกับที่พบในยาม้า
       การวินิจฉัยได้จากประวัติและการตรวจร่างกายเป็นหลัก ผู้ป่วยที่มีอาการกระสับกระส่าย สับสน เห็นภาพหลอน มีอาการเหมือนเสพยาม้า ร่วมกับมีอาการของ sympathetic overactivity หรือถ้าผู้ป่วย มาด้วยปัญหาของโรคหัวใจ ขาดเลือดหรืออาการชักที่หาสาเหตุอื่นไม่ได้ เราควรจะต้องสงสัยว่า ผู้ป่วยเสพย์โคเคน นอกจากนี้การตรวจทางห้องปฏิบัติ การก็จะช่วยในการวินิจฉัยด้วยเพราะ ถึงแม้โคเคนจะมีฤทธิ์ที่สั้น แต่ metabolite ของมันคือ benzolecgonine ซึ่งจะถูกขับออกทางปัสสาวะ สามารถตรวจพบในปัสสาวะได้นานถึง 24-36 ชั่วโมงหลังได้ยา ซึ่งขณะนี้หน่วยพิษวิทยา รพ.รามาธิบดี สามารถตรวจ benzolecgonine ได้แล้ว
       โคเคนอาจจะเป็นยากระตุ้นประสาทตัวใหม่ที่จะเข้ามาในสังคมไทยมากขึ้น ในยุคที่การติดต่อ สื่อสารเป็นไปอย่างสะดวก สังคมโดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นมีแนวโน้มการตามแบบอย่างตะวันตก ปัญหานี้จึงควรเป็นปัญหาที่จะต้องจับตามองอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้มาตรการและกฎหมายอาจจะ ต้องแก้ไขเพื่อให้มีบทลงโทษรุนแรงมากขึ้น ในขณะเดียวกันแพทย์ควรจะต้องมีบทบาททั้ง ผู้วินิจฉัยรักษาและป้องกัน โดยการให้ความรู้แก่ประชาชนในปัญหาดังกล่าวด้วย

กัญชา

                                                                   กัญชา
กัญชา เป็นพืชล้มลุกจำพวกหญ้าขึ้นได้ง่ายในเขตร้อน ลำต้นสูงประมาณ 2-4 ฟุต ลักษณะใบจะแยกออกเป็นแฉกประมาณ 5-8 แฉก คล้ายใบมันสำปะหลัง ที่ขอบใบทุกใบจะมีรอยหยักอยู่เป็นระยะๆ ออกดอกเป็นช่อเล็กๆ ตามง่ามของกิ่งและก้าน ส่วนที่คนนำมาเสพได้แก่ ส่วนของกิ่ง ก้าน ใบและยอดช่อดอกกัญชา โดยนำมาตากหรืออบแห้งแล้วบดหรือหั่นให้เป็นผงหยาบๆ จากนั้นจึงนำมายัดไส้บุหรี่สูบ (แตกต่างจากบุหรี่ทั่วไปที่ไส้บุหรี่จะมีสีเขียวต่างจากไส้ยาสูบที่มีสี น้ำตาล และขณะจุดสูบจะมีกลิ่นเหมือนหญ้าแห้งไหม้ไฟ) หรืออาจสูบด้วยกล้องหรือบ้องกัญชา บ้างก็ใช้เคี้ยว หรือผสมลงในอาหารรับประทาน ปัจจุบันรูปแบบของกัญชาที่พบนอกจากจะพบในลักษณะของกัญชาสด กัญชาแห้งอัดเป็นแท่งเป็นก้อนแล้วยังอาจพบในรูปของ "น้ำมันกัญชา" (Hashish Oil) ซึ่งมีลักษณะเป็นของเหลวสีน้ำตาลเข้มหรือสีดำ ได้จากการนำกัญชามาผ่านกระบวนการสกัดหลายๆ ครั้งจึงได้เป็นน้ำมันกัญชาที่มีปริมาณสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทสูงถึง 20-60% หรืออาจพบในลักษณะของ "ยางกัญชา" (Hashish) เป็นยางแห้งที่ได้จากใบและยอดช่อดอกกัญชา ซึ่งโดยทั่วไปจะมีฤทธิ์แรงกว่ากัญชาสด และมีปริมาณสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทประมาณ 4-8%
         กัญชา เป็นยาเสพติดให้โทษที่ออกฤทธิ์หลายอย่างต่อระบบประสาทส่วนกลาง คือ ทั้งกระตุ้น กดและหลอนประสาท สารออกฤทธิ์ที่อยู่ในกัญชามีหลายชนิด แต่สารที่สำคัญที่สุดที่มีฤทธิ์ต่อสมองและทำให้ร่างกาย อารมณ์และจิตใจเปลี่ยนแปลงไป คือ เตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydro Cannabinol) หรือ THC ที่มีอยู่มากในส่วนของยอดช่อดอกกัญชา สาร THC นี้ ในเบื้องต้นจะออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท ทำให้ผู้เสพตื่นเต้น ช่างพูด และหัวเราะตลอดเวลา ต่อมาจะกดประสาททำให้ผู้เสพมีอาการคล้ายเมาเหล้าอย่างอ่อนๆ เซื่องซึมและง่วงนอน หากเสพเข้าไปในปริมาณมากๆ จะหลอนประสาททำให้เห็นภาพลวงตา หูแว่ว ความคิดสับสน ควบคุมตนเองไม่ได้
เพศของกัญชา
         กัญชาที่ปลูกนั้นอาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ประเภทแรกปลูกเพื่อนำเส้นใยมาทอผ้า พวกนี้จะให้สารที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทเพียงเล็กน้อย ส่วนอีกพวกหนึ่ง จะให้สารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทที่รุนแรงจึงมักปลูกเพื่อใช้ในการเสพโดยเฉพาะ ต้นกัญชามีทั้งต้นตัวผู้และตัวเมีย ซึ่งล้วนแล้วแต่มีสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ด้วยกันทั้งสองเพศ แต่ส่วนใหญ่นิยมต้นตัวเมียมากกว่าต้นตัวผู้ เพราะต้นตัวเมียจะมีช่อดอก ช่อใบ ซึ่งเป็นส่วนที่มีปริมาณของสารที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทสูงกว่าส่วนอื่น โดยเฉพาะส่วนยอดช่อดอกตัวเมีย ที่เรียกว่า "กะหรี่กัญชา"
ฤทธิ์ในทางเสพติด :
         ออกฤทธิ์ผสมผสานทั้งกระตุ้น กดและหลอนประสาท มีอาการเสพติดทางจิตใจ ไม่มีอาการขาดยาทางร่างกาย
อาการผู้เสพ :
         อารมณ์อ่อนไหวเปลี่ยนแปลงง่าย ความคิดเลื่อนลอยสับสน ควบคุมตัวเองไม่ได้ ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม ความจำเสื่อม กล้ามเนื้อลีบ หัวใจเต้นเร็ว หูแว่ว
โทษที่ได้รับ :
         หลายคนคิดว่า การเสพกัญชานั้นไม่มีโทษร้ายแรงมากนัก แต่จากการศึกษาวิจัย พบว่า กัญชาเป็นยาเสพติดอีกชนิดหนึ่ง ที่มีอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพมากเกินกว่าที่คาดคิด อาทิเช่น
1. ทำลายสมรรถภาพทางกาย ผู้เสพกัญชาในปริมาณมาก เป็นระยะเวลานานๆ จะทำให้ร่างกายเสื่อมโทรม จนไม่สามารถประกอบกิจการงานใดๆ ได้ โดยเฉพาะงานที่ต้องใช้แรงงาน ความคิด และการตัดสินใจ รวมทั้งจะมีลักษณะ Amotivation Syndrome คือ การหมดแรงจูงใจของชีวิต จะไม่คิดทำอะไรเลย อยากอยู่เฉยๆ ไปวันๆ ซึ่งมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตและการทำงานเป็นอย่างมาก
2. ทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย การเสพติดกัญชามีผลร้ายคล้ายกับการติดเชื้อเอดส์ (HIV) กล่าวคือ กัญชาจะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานเสื่อมลงหรือบกพร่อง ร่างกายจะอ่อนแอและติดเชื้อโรคต่างๆ ได้ง่าย
3. ทำลายสมอง การเสพกัญชาแม้เพียงในระยะสั้น ทำให้ผู้เสพบางรายสูญเสียความทรงจำ เพราะฤทธิ์ของกัญชาจะทำให้สมองและความจำเสื่อม เกิดความสับสน วิตกกังวล และหากผู้เสพเป็นผู้มีอาการของโรคจิตเภท หรือป่วยเป็นโรคซึมเศร้าจะมีความเสี่ยง ที่จะเกิดอาการรุนแรงมากกว่าคนปกติทั่วไป
4. ทำให้เกิดมะเร็งปอด เนื่องจากผู้เสพจะอัดควันกัญชาเข้าไปในปอดลึกนาน หลายวินาที การสูบบุหรี่ยัดไส้กัญชาเพียง 4 มวน ซึ่งเท่ากับการสูบบุหรี่ 1 ซอง หรือ 20 มวน นั้นสามารถทำลายการทำงานของระบบ ทางเดินหายใจทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิด โรคมะเร็งได้มากกว่าคนสูบบุหรี่ธรรมดาถึง 5 เท่า และในกัญชายังมีสารเคมีที่เป็นอันตราย สามารถให้เกิดโรคมะเร็งได้
5. ทำร้ายทารกในครรภ์ กัญชาจะทำลายโครโมโซม ฉะนั้นหญิงที่เสพกัญชาในระยะตั้งครรภ์ ทารกที่เกิดมาจะพิการมีความผิดปกติทางร่างกาย เช่น ความผิดปกติของเซลล์ประสาทในสมอง ความผิดปกติของฮอร์โมนเพศและพันธุกรรม
6. ทำลายความรู้สึกทางเพศ กัญชาจะทำให้ระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในชายลดลง ทำให้ปริมาณอสุจิน้อยลง ทั้งยังพบว่า ผู้เสพติดกัญชามักกลายเป็นคนขาดสมรรถภาพทางเพศ
7. ทำลายสุขภาพจิต ฤทธิ์ของกัญชาจะทำให้ผู้เสพมีอาการเลื่อนลอย ฝันเฟื่อง ความคิดสับสนและมีอาการประสาทหลอนจนควบคุมตนเองไม่ได้ ซึ่งถ้าเสพเป็นระยะเวลานานจะทำให้มีอาการจิตเสื่อม
         นอกจากผลร้ายที่มีต่อร่างกายและจิตใจ ของผู้เสพแล้ว การขับรถขณะเมากัญชายังก่อให้เกิดอันตรายได้มาก เพราะฤทธิ์ของกัญชาจะทำให้เสียสมาธิ ทำให้การตัดสินใจผิดพลาด การตอบสนองช้าลง การรับรู้ทางสายตาบิดเบือน ความสามารถในการมองเห็นส่งเคลื่อนที่ด้อยลง จึงเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อผู้ขับรถยนต์ หรือแม้แต่เดินบนท้องถนนก็ตาม

โทษตามกฎหมาย :
          จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522

วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2559

เฮโรอีน

เฮโรอีน (heroine)
      เฮโรอีน เป็น สารเสพติดที่มีฤทธิ์กดประสาท จัดอยู่ในกลุ่มยาเสพติดให้โทษในประเภทที่ 1 ตาม พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 เป็นสารสังเคราะห์ที่อยู่ในกลุ่มเดียวกับฝิ่น และมอร์ฟีน มีชื่อทางวิทยศาสตร์ว่า ไดอาเซททิลมอร์ฟีน (diacetylmorphine) สูตรเคมีคือ c21h23no5 เฮโรอีนที่นำมาเสพจะอยู่ในรูปเกลือเช่น เฮโรอีนไฮโดรคลอไรด์ มีลักษณะเป็นผงสีขาว รสขม แต่สีจะเปลี่ยนไปตามองค์ประกอบที่ใส่เข้าไปในขบวนการผลิต เฮโรอีนมีชื่อเรียกอื่นเช่น ผงขาว แค็ป
ผลของการเสพเฮโรอีนเข้าสู่ร่างกาย เฮโรอีนสามารถเสพได้หลายวิธี เช่นการฉีด การสูดเข้าจมูก หรือสูบการเสพโดยวิธีสูบควันจะเข้าสู่สมองภายใน 7 วินาที และหากเสพโดยวิธีฉีดจะออกฤทธิ์ภายใน 30 วินาที เมื่อเฮโรอีนเข้าสู่ร่างกายแล้วจะเริ่มออกฤทธิ์ทันที ผู้เสพจะรู้สึกเสียวซ่านอย่างแรงอยู่นาน 1-2 นาที ต่อจากนั้นจะรู้สึกตัวร้อนวูบวาบ ปากแห้ง แขนขาหนักอึ้ง ไม่มีความเจ็บปวด เคลิบเคลิ้มและผ่อนคลายความเครียด ผู้ที่ใช้เฮโรอีนเป็นเวลานานมักไม่เกิดอาการเสียวซ่านอย่างที่เคยใช้ในครั้ง แรกๆ แต่มักเสพยาเพื่อไม่ให้เกิดอาการถอนยา ฤทธิ์อื่นๆ ของเฮโรอีนที่มีผลต่อร่างกาย ได้แก่ ฤทธิ์ระงับอาการไอ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก กดการหายใจ ม่านตาดำหดตัว (miosis)
       เฮโรอีนเป็นยาเสพติดที่ก่อให้เกิดการเสพติดทั้งทางร่างกายและจิตใจ อย่างรุนแรง แม้จะทดลองเสพเพียงไม่กี่ครั้งก็ตาม ซึ่งถ้าจะเปรียบเทียบกับมอร์ฟีนและฝิ่นแล้ว พบว่าเฮโรอีนมีฤทธิ์ทำให้เสพติดได้ง่ายกว่ามาก ผู้เสพเป็นเวลานานร่างกายจะทรุดโทรม น้ำหนักตัวลด ความคิดสับสน และมีรอยเข็มฉีดยาตามแขน
อาการถอนยา คือ กระสับกระส่าย เกิดอาการอยากยา หาว น้ำมูกน้ำตาไหล เหงื่อออกมากผิดปกติ หนาวสั่น เป็นไข้ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง นอนไม่หลับ ความดันโลหิตสูง เบื่ออาหาร น้ำหนักลด มีอาการเจ็บปวดทั่วร่างกาย อาการถอนยาดังกล่าวจะเกิดขึ้นหลังจากที่มีการฉีดเข็มสุดท้ายไปแล้ว 8 – 12 ชั่วโมง และจะรุนแรงขึ้นอีกในวันที่ 2 และ 3 จากนั้นอาการจะลดลงไปเรื่อยๆ จนถึงวันที่ 7 -10 จึงจะเข้าสู่ปกติ และจะหายโดยสิ้นเชิงภายใน 1 เดือน
บทกำหนดโทษ
    – ผู้ใดผลิต นำเข้า หรือส่งออก ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ หนึ่งล้านบาท ถึงห้าล้านบาท
       – ผู้เสพ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน – 3 ปี หรือปรับตั้งแต่ 10,000 – 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ